หลายคนที่เชื่อเรื่องดวงและโชคชะตา (แม้แต่ชาวตะวันตกเอง) อาจรู้สึกหวั่นๆหนาวๆกับปีที่ ค.ศ. ที่ลงท้ายด้วยเลข 7 เพราะจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ปีใดก็ตามที่ลงท้ายด้วยเลข 7 มักเกิดเหตุการณ์วิกฤตทางการเงินระดับโลกเสมอ
เริ่มตั้งแต่เหตุการณ์หุ้น Wall street ร่วงครั้งใหญ่ที่สุดภายในวันเดียวซึ่งเกิดขึ้นในปี 1987 วิกฤติเศรษฐกิจเอเชียต้มยำกุ้งในปี 1997 และล่าสุดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ที่ลุกลามไปทั่วโลกก็เกิดขึ้นในปี 2007
ปี 2017?
ความเชื่อเลข 7 นี้ เป็นเพียงความงมงาย หรือมันมีเหตุผลอะไรที่จะเชื่อว่าปีหน้า 2017 จะเกิดวิกฤตการเงินครั้งใหญ่อีกครั้ง?
นักเศรษฐศาสตร์และนักการเงินทั่วโลก ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความเสี่ยงหลักๆที่อาจจะเกิดขึ้นในปีหน้า พวกเขาเชื่อว่าปัจจุบัน สถานการณ์เศรษฐกิจโลกอยู่ในจุดที่เปราะบางยิ่งนักด้วยสาเหตุหลักหลัก 3 ประการคือ
1. ธนาคารยุโรปอ่อนแอมาก
ในยุโรปธนาคารดอยซ์แบงค์ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมันนี ปัจจุบันประสบปัญหาเรื่องสภาพคล่องและเงินทุน (Capital Reserve) ที่อ่อนแอถึงขีดสุด ในขณะที่ประเทศอิตาลีหนี้เสียพุ่งขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ถึงประมาณ 1 ใน 3 ของ GDP ของประเทศเลยทีเดียว!
2. Shadow Banking ในอเมริกา
ในประเทศสหรัฐอเมริกา นโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำที่ใช้ต่อเนื่องมาเกือบสิบปี ทำให้สถานภาพทางการเงินของธนาคารหลายแห่งซึ่งเกือบล้มจากวิกฤตเมื่อ 10 ปีที่แล้ว จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำทำให้ผลประกอบการของธนาคารย่ำแย่ ไม่มีกำไรสะสมมาสร้างส่วนของทุน (Retained Earning) ให้ฐานทุนของธนาคารกลับมาแข็งแกร่งกลับมาได้ดั่งเดิม
ปัญหาหนึ่งสำหรับอเมริกาคือเรื่องของ “ธนาคารเงา” (Shadow Banking) ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากกฏระเบียบเข้มงวดที่รัฐบาลบังคับใช้หลังจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์คราวที่แล้ว ทำให้ธุรกิจของธนาคารถูกตีวงจำกัดเป็นอย่างมาก
เงินสภาพคล่องส่วนเกิน จึงได้ไหลไปในธุรกิจที่มีกฎระเบียบควบคุมน้อยกว่า เช่น Hedge Fund, Money Market, และ Securities Lending (การปล่อยกู้โดยตรง หรือการให้ยืมโดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน) ธุรกิจลักษณะนี้ ก็ให้เกิด Shadow Banking ที่ไม่สามารถบอกได้ว่ามันมีขนาดมหึมาแค่ไหน
3. อสังหาฯในจีน
แต่ความเสี่ยงที่ดูเหมือนจะยิ่งใหญ่ที่สุดในตอนนี้ (ตามความเห็นของนักวิเคราะห์ฝรั่งจากตะวันตกนะครับ) คือภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของประเทศจีน ซึ่งอยู่ในสภาพฟองสบู่ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ที่ต่อให้รัฐบาลจีนจะงัดมาตรการใดมาเพื่อชะลอความร้อนแรง แต่ไม่สามารถที่จะหยุดการเก็งกำไรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของอาตี๋อาหมวยชาวจีนได้
ซึ่งเหตุการณ์สบู่แตกในจีนแปลงสภาพกลายเป็นหนี้เสียจำนวนมหาศาลแล้วล่ะก็ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย) หรือแม้กระทั่งประเทศที่ฐานะทางการเงินแข็งแกร่งจากสิงคโปร์ ก็ไม่อาจหลุดพ้นจากบ่วงนี้ได้ เพราะประเทศเล็กๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการค้าขายกับจีน และพึงพานักท่องเที่ยวจีนเป็นอย่างมากมาก
ติดตามเรื่องเทคโนโลยี่ของ Artificial Intelligence ในตลาดหุ้นได้ที่เพจ
https://www.facebook.com/thinkalgo/
แหล่งข้อมูล: http://www.bloomberg.com/news/articles/2016-10-20/where-the-next-crisis-will-come-from